Knowledge

5 กลยุทธ์ที่สามารถพัฒนาความจงรักภักดี จากมิลเลเนี่ยล

โพสต์เมื่อ 5 พฤศจิกายน 2561

          คนยุคมิลเลเนี่ยลหรือคนยุค Gen Y ในปัจจุบันตัดสินใจเปลี่ยนงานกันเป็นว่าเล่นจึงทำให้ประสบปัญหาในหลายด้านๆ วันนี้เราขอเรียบเรียงบทความจากเว็บไซต์ Gethppy โดยผลการสำรวจ Millennial Survey ประจำปี 2560 ของ Deloitte กล่าวว่าคนยุคมิลเลเนี่ยลหมดความเชื่อในเรื่องของความจงรักภักดีต่อบริษัท ทำอย่างไรที่จะช่วยรักษาให้พวกเขาอยู่กับบริษัท มีความจงรักภักดี สร้างสภาพแวดล้อมในการทำงานในบริษัทให้น่าอยู่มากยิ่งขึ้น

1.เสนอการทำงานที่ยืดหยุ่น (Offer flexible working)
.
การทำงานของมิลเลเนี่ยลจะแตกต่างกับคนยุคก่อนหน้านี้ พวกเขาทำงานกับเทคโนโลยีและจะทำให้งานได้ผลดีที่สุด พวกเขาให้ความสำคัญกับความสมดุลในการทำงานและการใช้ชีวิตส่วนตัว มิลเลเนี่ยลต้องการทำงานแบบมีเวลายืดหยุ่น และจากการศึกษาพบว่าส่วนใหญ่ของมิลเลเนี่ยลเชื่อว่าการทำงานแบบยืดหยุ่นทำให้ได้ผลการทำงานที่ยอดเยี่ยม
          สิ่งที่สนับสนุนการทำงานแบบยืดหยุ่น
                    • สามารถทำงานจากที่บ้านได้
                    • ชั่วโมงการทำงานที่ยืดหยุ่นหรือการทำงานนอกเวลา
                    • การปรับเปลี่ยนงานตามความเหมาะสม ให้เป็นไปตามเป้าหมาย
                    • งานฟรีแลนซ์หรืองานที่เป็นนายตัวเอง
ตารางการทำงานที่ยืดหยุ่นส่งเสริมให้เกิดความสมดุลระหว่างชีวิตส่วนตัวและการทำงานซึ่งผลดีต่อสุขภาพ แต่ทั้งนี้ก็ต้องได้รับความสนับสนุนเห็นชอบระหว่างผู้จัดการและตัวพนักงานเอง ระบบการจัดการงานและซอฟแวร์สามารถเข้ามาช่วยในการติดตามงานและเพิ่มความมั่นใจให้กับผู้จัดการที่อาจจะเกิดความกระวนกระวายใจให้เห็นว่าตัวพนักงานมีการทำงานอยู่จริง

2. การสร้างความเชื่อใจ (Build trust)
.
ความเชื่อใจกันคือหลักสำคัญของสัมพันธภาพที่ดี ดีทั้งต่อตัวเองและคนที่ร่วมงานด้วย องค์กรจึงต้องแสดงให้ลูกจ้างเห็นว่าเราได้ให้ความสำคัญในเรื่องของการเชื่อใจโดยวิธีการดังนี้
          • ให้การยกย่องเมื่อเขาควรจะได้รับ
          • หลีกเลี่ยงการนินทากันภายในที่ทำงาน
          • มีการแบ่งปันข้อมูลและให้คำปรึกษาอย่างสม่ำเสมอ
          • เปิดกว้างทางการสื่อสารและดำเนินการอย่างโปร่งใส
          • มีการรายงานความคืบหน้างานและให้ข้อมูลป้อนกลับด้วย
          • แสดงออกให้เห็นถึงความรับผิดชอบ

3. สร้างนโยบายความรับผิดชอบทางสังคมที่มีประสิทธิภาพ (Create a robust CSR poilcy)
.
มิลเลเนี่ยลมองหาสถานที่ทำงานที่พวกเขาสามารถแสดงออกในสิ่งใหม่ๆหรือแตกต่างไปจากเดิมและมีผลต่อประเด็นทางสังคมที่เขาสนใจ มิลเลเนี่ยลมีจุดเด่นในเรื่องของจิตสำนึกในสังคมและกิจกรรมความรับผิดชอบทางสังคม มิลเลเนี่ยลชื่นชอบและมีปฏิกิริยาตอบสนองที่ดีต่อการทำงานให้บรรลุเป้าหมาย เขาต้องการที่จะเปลี่ยนโลกให้ดีขึ้นและให้เกิดความรับผิดชอบทางสังคมที่มีประสิทธิภาพและตรงกับจุดประสงค์ของการลงมือทำมากที่สุด

 

4. เสนอแนวทางในการเจริญก้าวหน้า (Provide opportunities for growth)
.
อีกปัจจัยที่ส่งผลให้มิลเลเนี่ยลที่เปลี่ยนงานบ่อยๆให้กลับมามีความจงรักภักดีต่อองค์กรได้ โดยที่พวกเขาจะประสบความสำเร็จในงานได้โดยจะต้องไม่มีความรู้สึกหรืออิทธิพลของคนรุ่นก่อนหน้าเข้ามาเกี่ยวข้อง ดั้งนั้นพวกเขาจึงเปลี่ยนที่ทำงานไปเรื่อยๆเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งเอาไว้ นายจ้างสามารถทำอะไรได้บ้าง? ข้อตกลงที่ส่งผลดีต่อทั้งสองฝ่ายคือการให้โอกาสในการก้าวหน้าโดยจะต้องสร้างวัฒนธรรมองค์กรในเรื่องของความจงรักภักดีให้เกิดขึ้นจริงและเห็นผล

5. มอบสิทธิประโยชน์และผลตอบแทนให้เหมาะกับกระบวนการการทำงาน (Keep benefit and pay inline with progress)
.
มิลเลเนี่ยลจะแสดงจุดยืนชัดเจนว่าเป้าหมายจะมาก่อนค่าตอบแทน และมากกว่าการลาออกหรือเปลี่ยนงานเพื่อให้ได้ค่าตอบแทนที่สูงกว่า เพื่อให้แน่ใจว่ามิลเลเนี่ยลจะไม่ถูกดึงตัวไปด้วยค่าตอบแทนที่มากกว่าจากที่อื่น ก็ต้องเพิ่มสิทธิประโยชน์และผลตอบแทนที่เพิ่มมากขึ้นในจังหวะของการแข่งขันที่เหมาะสม