Knowledge

รูปแบบสวัสดิการในอนาคต

โพสต์เมื่อ 2 มิถุนายน 2559

สวัสดิการเหล่านี้อาจยังไม่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน แต่ในอนาคตนายจ้างที่ต้องการซื้อใจลูกจ้างเก่งๆ เอาไว้ต้องใช้สวัสดิการเช่นนี้กันเกลื่อนกลาดแน่นอน

หลาย บริษัทพยายามหาทางปรับปรุงการให้โบนัสและสวัสดิการต่างๆ ของตนเพื่อรักษาพนักงานผู้มีความสามารถของตนไว้ สถานที่ทำงานในอนาคตจะให้ทุนเพื่อศึกษาต่อ ปรับการกั้นแบ่งห้องเพื่อให้เข้ากับการทำงานของแต่ละโครงการ และให้โบนัสแทนเงินบำนาญ อ้อ...แถมยังมีบริการดูแลผู้สูงอายุในที่ทำงานด้วย และนี่คือสิ่งที่จะเกิดขึ้นต่อไปในสถานที่ทำงานต่างๆ 

1.ทุกสิ่งที่ผู้หญิงต้องการ

ปัจจุบัน กว่าครึ่งของนักศึกษาทั้งระดับปริญญาตรีและปริญญาโทล้วนแล้วแต่เป็นเพศหญิง บริษัทต่างๆ จึงเริ่มปรับสายงาน ตำแหน่งงานและสถานที่ทำงานเพื่อให้ผู้หญิงยังอยู่กับบริษัทตนแม้จะเริ่มมี บุตรกันแล้ว สวัสดิการของบริษัทแบบใหม่ๆ ช่วยให้ภาระงานของผู้หญิงที่มีภาระทางบ้านลดลง เช่นที่บริษัทเลห์แมนบราเธอร์สกำลังพยายามดึงพนักงานของตนที่ลาออกเพราะต้อง ไปเป็นคุณแม่กลับมาทำงานอีกครั้ง คิดถึงการทำงานที่ปรับเข้าหาชีวิตส่วนตัวดูสิ ไม่ใช่การปรับชีวิตส่วนตัวของเราให้เข้ากับงาน

2. ไม่มีที่ใดอุ่นใจเท่า...ที่ทำงานเรา

กู เกิ้ลให้นิยามการทำสถานที่ทำงานให้เป็นบ้านอีกครั้งด้วยการให้สวัสดิการ อาหารฟรีวันละ 3 มื้อพร้อมให้เสื้อทีเชิ้ตฟรีสัปดาห์ละ 2 ตัว ในยุคที่ทุกคนมีอุปกรณ์ครบครันพร้อมทำงานจากบ้านของตน บริษัทต่างๆ จึงพยายามล่อลวงให้พนักงานมาเข้าทำงานในคอกทำงานอีกครั้ง และนั่นคือเหตุผลว่าทำไมออฟฟิศของบริษัทอย่างพร็อกแตร์แอนด์แกมเบิลและ ไมโครซอฟท์เริ่มคล้ายห้องครัวและห้องนั่งเล่นมากขึ้นทุกที ห้องนอนกลางวัน ห้องเล่นเกมส์ และเลานจ์ที่มีสิ่งบันเทิงต่างๆ ก็มีให้บริการในที่ทำงานเช่นกัน

 

3. ลืมไปเลยเรื่องตอกบัตร

เนื่อง จากหลายบริษัทให้ความสำคัญกับผลงานที่ทำมากกว่าจำนวนชั่วโมงที่คุณให้กับงาน แต่ละสัปดาห์ นโยบาย ระเบียบและกระบวนการควบคุมเวลาทำงานที่แสนแพงในบริษัทต่างๆ จะค่อยๆ หายไป ซึ่งบริษัทอย่างเบสท์บายหรือเนทฟลิกซ์เริ่มใช้นโยบายเช่นนั้นไปแล้ว ด้วยการให้พนักงานหยุดงานได้โดยไม่จำกัด สามารถทำงานที่ใดก็ได้ ในเวลาใดก็ได้ ขอเพียงทำงานให้เสร็จทันตามที่กำหนดไว้ อย่างไรก็ดี ในยุคที่ผู้คนบ้างานเช่นปัจจุบัน บางครั้งก็ดีเหมือนกันหากมีใครมาบังคับเราให้ลาหยุดเสียบ้าง

 

 

4. ดูแลพนักงานเหมือนลูกหลาน

 

การ ให้ความสำคัญกับสุขภาพของพนักงานเป็นการบริหารงานแนวใหม่ของบริษัทที่บริหาร งานแบบพ่อปกครองลูก บริษัทแบบดังกล่าวจะสนใจว่าคุณอ้วนหรือผอม บ้าออกกำลังหรือขี้เกียจออกกำลัง รวมทั้งยังสนใจด้วยว่าคุณเล่นกีฬาเสี่ยงๆ มากแค่ไหน หากคุณเป็นพวกชอบออกกำลังกายร่างกายแข็งแรง คุณจะไม่ต้องโดนหักเงินสะสมด้านสุขภาพ แต่หากคุณเป็นพวกไม่ชอบออกกำลังล่ะก็ คุณก็จะโดนหักเงิน (หรืออาจโดนอะไรที่แย่กว่า) ข้อดีของระบบนี้ก็คือ คุณจะมีคุณหมอไปตรวจถึงบ้าน แต่ข้อเสียก็คือ ผลการตรวจเลือดที่บอกได้เลยว่าเมื่อคืนคุณเมาหนักแค่ไหน

 

5. สวัสดิการที่คุณเลือกได้

ความ คิดที่ว่ายาขนานเดียวกันใช้ได้กับทุกคนนั้นล้าสมัยไปแล้ว สิ่งที่ผู้คนในเจเนอเรชั่นวายสนใจอาจเป็นสิ่งที่คนรุ่นสงครามโลกครั้งที่สอง ไม่ยอมรับ ดังนั้น บริษัทต่างๆ จึงรู้ว่าตนจะได้รับผลตอบแทนที่ดีกว่าจากพนักงาน หากลงทุนให้เงินโบนัสหรือสวัสดิการโดยคำนึงถึงผลงานของพนักงานที่ออกมาและ วัยของแต่ละคน การให้พนักงานแต่ละคนเลือกจัดสรรสวัสดิการของตนเองเหมือนตักอาหารใส่ถาดหลุม ที่เริ่มใช้กับสวัสดิการด้านสุขภาพไปแล้วนั้นจะเริ่มปรับใช้กับสวัสดิการ ด้านอื่นๆ รวมทั้งการวางแผนเรื่องค่าชดเชยที่จะช่วยให้พนักงานแต่ละคนสามารถจัดสรรเงิน เดือนของตนไปกับความเสี่ยงต่างๆ ในลักษณะที่เหมาะสมกับตัวเอง

 

เขียนโดย มิเชลล์ คอนลินและเจน พอร์เตอร์,บิสสิเนสวีค นิวยอร์ก  

http://www.oknation.net/blog/toyubom/2008/07/20/entry-15